วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2550

อารธรรม ทุกภาค

มกราคม
ประเพณีรำบวงสรวงพระธาตุพนม งานประเพณีสำคัญที่จัดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี เพื่อนมัสการองค์พระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราช
จ.นครพนม
งานบุญยิ่งใหญ่ของชาวจังหวัดนครพนม ที่จัดขึ้นเพื่อ
นมัสการองค์พระธาตุพนมในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓
ของทุกๆ ปี โดยพุทธศาสนิกชนจะถือศิลปฎิบัติธรรม
และเวียนเทียนรอบพระธาตุพนม อีกทั้งมีการรำ
บวงสรวงหรือฟ้อนผู้ไทถวายตามประเพณีโบราณ

กุมภาพันธ์
ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ จ.นครศรีธรรมราช
งานประเพณีสำคัญที่จัดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี เพื่อนมัสการองค์พระบรมธาตุเมืองนครศรีธร
ในงานมีการกวนข้าวมธุปายาส ประกวดผ้าพระบฏและโคมประดับ และมีการแห่ผ้าขึ้นธาตุไปตามถนนแล้วนำ ไปห่มองค์พระธาตุเป็นการสักการบูชา

มีนาคม
ประเพณีบวชลูกแก้ว จ.แม่ฮ่องสอน
ประเพณีของคนไตหรือชาวไทยใหญ่ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน จัดขึ้นในราวเดือนมีนาคมถึงเมษายนซึ่งนำกุลบุตรที่ครบเกณฑ์บวชมาบวชเป็นสามเณรในพุทธศาสนา นับเป็นประเพณีที่งดงามด้วยสีสัน และควรค่าต่อการเรียนรู้ถึงชีวิตคนไทย

เมษายน
ประเพณีแห่สลุงหลวง
จ. ลำปาง
ประเพณีที่งดงามของชาวล้านนาจังหวัดลำปาง
ที่จัดขึ้นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของทุกปี ในงาน
จะมีการแห่สลุงหลวงหรือขันน้ำตามประเพณี
โปราณไปรอบเมือง เพื่อรับน้ำขมิ้นส้มป่อยจาก
ประชาชนไปสรงแด่พระแก้วดอนเต้า พระพุทธรูป
ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง

พฤษภาคม
ประเพณีบุญบั้งไฟ จ.ยโสธร
ประเพณีพื้นบ้านของชาวอีสานที่ผูกพันกับความเชื่อ
ในเรื่องการขอฝนด้วยการทำบั้งไฟจุดขึ้นไปบนฟ้า
เพื่อขอฝนจากพญาแถน ซึ่งเป็นงานประเพณีที่จัด
ขึ้นในวันเสาร์และอาทิตย์ที่ ๒ เดือนพฤษภาคมของ
ทุกปี

มิถุนายน
ประเพณีผีตาโขน จ.เลย
ประเพณีพื้นบ้านของชาว อ.ด่านซ้าย จ.เลย ที่จัดขึ้นในงานบุญพระเวสหรืองานบุญเดือนหก โดยเด็กๆ
จะทำหน้ากากผีตาโขนจากหวดนึ่งข้าวเหนียวแต่งแต้มสีสันสวยงามมาสวมใส่มีการแต่งตัว
เป็นผีออกแห่แหนไปตามถนนเลียนแบบในชาดกทางพุทธศาสนา เป็นที่สนุกสนานมาก

กรกฎาคม
ประเพณีแห่เทียนพรรษา จ.อุบลราชธานี
ประเพณีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจังหวัดอุบลราชธานี มีขึ้นในช่วงวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษาของทุกปี
โดยคุ้มวัดต่างๆ จะจักทำต้นเทียนแกะสลักอันงดงามแห่แหนไปรอบเมืองก่อนที่จะนำไปถวายตามอุโบสถ ของวัดต่างๆ ต่อไป

สิงหาคม
ประเพณีแข่งเรือ จ.บุรีรัมย์
ประเพณีพื้นบ้านที่แสดงให้เห็นถึงวิธีชีวิตของคนไทย
อันผูกพันกับสายน้ำมาเนิ่นนานโดยในฤดูฝนเมื่อเสร็จ
สิ้นการดำนา นับจากเดือนสิงหาคมเป็นต้นไป จนถึงราว
เดือนพฤศจิกายนที่น้ำหลากเต็มตลิ่ง ชาวบ้านก็จะจัด
งานแข่งเรือกันขึ้นเพื่อความสนุกสนานและการ
สมัครสมานสามัคคีกัน

กันยายน
ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ จ.เพชรบูรณ์
ประเพณีท้องถิ่นในช่วงเดือน ๑๐ ของชาวจังหวัด
เพรชบูรณ์ที่มีความเป็นเอกลักษณ์ ในงานจะมีการ
อัญเชิญพระพุทธมหาธรรมราชา พระคู่บ้านคู่เมือง
ของชาวเพชรบูรณ์มาทรงน้ำ ทั้งนี้มีความเชื่อว่าจะ
ทำให้บ้านเมืองและประชาชนมีความสุขความเจริญ

ตุลาคม
ประเพณีตักบาตรเทโว จ.อุทัยธานี
ประเพณีสำคัญในงานออกพรรษา ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ของชาวจังหวัดอุทัยธานี โดยพระสงฆ์จำนวน
มากกว่า ๓๐๐ รูป นำโดยพระพุทธรูปปางเสด็จจากดาวดึวส์ จะเดินลงบันไดจากมณฑปพระพุทธบาท
ยอดเขาสะแกกรัง ลงมารับบิณฑบาตรข้าวสารอาหารแห้งจากพุทธศาสนิกชนบริเวณลานวัดสังกัสรัตนคีรี
อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี

พฤศจิกายน
ประเพณีลอยโคม จ.เชียงใหม่
งานประเพณีพื้นบ้านในวันเพ็ญเดือน ๑๒ ของชาวล้านนาจังหวัดเชียงใหม่ ที่มีความเชื่อในการปล่อย
โคมลอยซึ่งทำด้วยกระดาษสาติดบนโครงไม้ไผ่แล้วจุดตะเกียงไฟตรงกลางเพื่อให้ไอความร้อนพา
โคมลอยขึ้นไปในอากาศเป็นการปล่อยเคราะห์ปล่อยโศกและเรื่องร้ายๆต่างๆ ให้ไปพ้นจากตัว


ประเพณีไทยอันดีงามที่สืบทอดต่อกันมานั้น ล้วนแตกต่างกันไปตามความเชื่อ ความผูกพันของผู้คนต่อพุทธศาสนา
และการดำรงชีวิตที่สอดประสานกับฤดูกาลและธรรมชาติอย่างชาญฉลาดของชาวบ้านในแต่ละท้องถิ่น ทั่วแผ่นดินไทย เช่น
ภาคเหนือ ประเพณีบวชลูกแก้วของคนไตหรือชาวไทยใหญ่ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ภาคอีสาน ประเพณีบุญบั้งไฟของชาวจังหวัดยโสธร
ภาคกลาง ประเพณีทำขวัญข้าวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ภาคใต้ ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็น ต้น นอกจากนี้
ประเพณีและอารยธรรมไทยยังนำมาซึ่งการท่องเทียว เป็นที่รู้จักและประทับใจแก่ชาติอื่น นับเป็นมรดกอันลำค่าที่เรา ...
คนไทยควรอนุรักษ์และสืบสานให้ยิ่งใหญ่ตลอดไป